ข้อควรปฏิบัติในวันมายื่นคำร้อง

โปรดนำเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องมาแสดงให้ครบถ้วน โดยเฉพาะการยื่นคำร้องกรณีผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 15 ปี และ ผู้เยาว์อายุ 15 ปีขึ้นไป แต่ยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ ทั้งนี้ หากเอกสารที่นำมาแสดงไม่ครบถ้วน ท่านจะต้องนำเอกสารดังกล่าวมาแสดงเพิ่มเติมในวันรับเล่ม ซึ่งจะทำให้การรับเล่มล่าช้า เนื่องจากต้องใช้เวลาในการบันทึกข้อมูลเอกสารที่นำมาแสดงเพิ่มเติมลงในระบบให้ครบถ้วน

ขั้นตอนการยื่นขอหนังสือเดินทางใหม่

  1. รับบัตรคิว
  2. ยื่นบัตรประจำตัวประชาชนที่มีเลข 13 หลัก (หากไม่มีเลข 13 หลัก ต้องนำสำเนาทะเบียนบ้านมาแสดง) พร้อมเอกสารหลักฐานอื่นๆ ที่จำเป็น อาทิ หากเปลี่ยนชื่อสกุล ต้องมีหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ นามสกุล ทะเบียนสมรส ฯลฯ มาแสดง เพื่อตรวจสอบข้อมูล
    • ข้อมูลชีวภาพ (วัดส่วนสูง เก็บลายพิมพ์นิ้วมือนิ้วชี้ซ้ายและนิ้วชี้ขวาด้วยเครื่องสแกนเนอร์ และถ่ายรูปใบหน้า )
    • แจ้งความประสงค์หากต้องการขอรับเล่มทางไปรษณีย์
  3. ชำระค่าธรรมเนียม 1,000 บาท (และค่าส่งไปรษณีย์40 บาทหากประสงค์ให้จัดส่งทางไปรษณีย์) รับใบเสร็จรับเงิน และรับใบนัดรับเล่ม ท่านจะได้รับหนังสือเดินทาง ดังนี้ หากยื่นที่กรมการกงสุล ผู้ร้องสามารถรับหนังสือเดินทางได้ 2 วันทำการไม่นับวันยื่นคำร้อง หากรับทางไปรษณีย์จะได้รับใน 5 วันทำการ หากยื่นที่สำนักงานสาขาในกรุงเทพฯ (ปิ่นเกล้าและบางนา) ผู้ร้องจะได้รับเล่มภายใน 2 วันทำการ ไม่นับวันยื่นคำร้อง หากรับทางไปรษณีย์จะได้รับใน 5 วันทำการ กรณียื่นคำร้องที่สำนักงานสาขาในต่างจังหวัดและขอให้จัดส่งทางไปรษณีย์ ผู้ร้อง (ในเขตเมือง) จะได้รับหนังสือเดินทางภายใน 5 วันทำการ โดยที่กระทรวงฯ ได้ติดตั้งเครื่องอ่านหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์จำลอง เพื่อผู้ร้องสามารถทดสอบการผ่านเข้า-ออกท่าอากาศยานโดยอัตโนมัติไว้ 1 เครื่อง ที่กรมการกงสุล ดังนั้นจึงแนะนำให้ผู้ขอหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์มารับเล่มด้วยตนเอง เพื่อให้ผู้ถือหนังสือเดินทางมีความคุ้นเคยกับการใช้หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์และระบบตรวจคนเข้าเมืองอัตโนมัติในกรณีจำเป็น สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นรับแทนหรือให้จัดส่งทางไปรษณีย์ (EMS)

ผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 15 ปี

ระเบียบการขอหนังสือเดินทางของผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 15 ปี

ผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 15 ปี ต้องนำสูติบัตรฉบับจริง หากเป็นสำเนาต้องได้รับการรับรองสำเนาถูกต้องจาก อำเภอ/เขตมาแสดงพร้อมผู้มีอำนาจปกครอง หากผู้มีอำนาจปกครองไม่สามารถมาดำเนินการได้ สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นมาดำเนินการแทนได้โดยต้องมีหนังสือมอบอำนาจ และหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศพร้อมทั้งบัตรประจำตัวประชาชนของบิดามารดาและ/หรือผู้มีอำนาจปกครองฉบับจริงมาแสดง ทั้งนี้หนังสือมอบอำนาจและหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศต้องผ่านการรับรองจากอำเภอ/เขต

เอกสารประกอบการขอหนังสือเดินทางธรรมดาของผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 15 ปี

  • สูติบัตรฉบับจริง หากเป็นสำเนาสูติบัตรต้องได้รับการรับรองจากอำเภอ/เขต
  • บิดาและมารดา หรือผู้มีอำนาจปกครองนำบัตรประชาชนฉบับจริงมาลงนามต่อหน้าเจ้าหน้าที่
    บัตรประจำตัวประชาชนที่ยังมีอายุใช้งาน หรือ บัตรที่ใช้แทนได้ตามกฎกระทรวงมหาดไทย ของบิดา มารดา หรือผู้มีอำนาจปกครองฉบับจริง
    หากชื่อนามสกุลบิดา มารดาในสูติบัตรไม่ตรงกับบัตรประจำตัวประชาชน ให้นำหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ หรือ นามสกุลที่เป็นต้นฉบับมาแสดงด้วย
    ในกรณีที่มารดาหย่า และจดทะเบียนสมรสใหม่ และใช้นามสกุลใหม่ตามสามีให้นำหลักฐานการหย่าและการสมรสที่เป็นต้นฉบับมาแสดงด้วย
  • หนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศและบัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริงของบิดามารดาที่ไม่มา ในกรณีที่บิดา/มารดาฝ่ายหนึ่ง
    ฝ่ายใดไม่สามารถมาแสดงตัวได้ **หนังสือยินยอมของบิดา/มารดา ต้องผ่านการรับรองจากอำเภอ/เขต
    (ผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 15 ปี ต้องมีบิดาหรือมารดา คนใดคนหนึ่งมาแสดงตัวให้ความยินยอม)
  • เอกสารอื่น ๆ ที่จำเป็น อาทิ หลักฐานใบเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนนามสกุล เอกสารหลักฐานการรับรอง บุตรหรือรับบุตรบุญธรรม บันทึกการหย่า ซึ่งมีข้อความระบุให้บุตรอยู่ในความดูแลของบิดา หรือมารดา เป็นต้น
  • กรณีบิดา มารดาผู้เยาว์เสียชีวิต / บิดาหรือมารดาผู้เยาว์เป็นชาวต่างชาติมิได้จดทะเบียนสมรสและ ไม่สามารถตามหาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมาให้ความยินยอมได้ /บิดามารดามิได้จดทะเบียนสมรสแต่บุตรอยู่ในความดูแลของบิดาฝ่ายเดียวมาตลอด และไม่สามารถตามหามารดาได้ ให้นำคำสั่งศาลซึ่งระบุชื่อผู้มีอำนาจปกครอง พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจปกครองมาแสดงค่าธรรมเนียม
  • การทำหนังสือเดินทางใหม่เสียค่าธรรมเนียม 1,000 บาท
  • ผู้เยาว์อายุ 15 ปีขึ้นไปแต่ยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์
  • ระเบียบการขอหนังสือเดินทางของผู้เยาว์อายุ 15 ปีขึ้นไปแต่ยังไม่ครบ 20 ปี บริบูรณ์

ผู้เยาว์อายุระหว่าง 15 ปีขึ้นไปแต่ยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์

ผู้เยาว์ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปแต่ยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ ที่ทำบัตรประชาชนแล้วสามารถติดต่อขอทำ หนังสือเดินทางด้วยตนเอง โดยมีหนังสือยินยอมของบิดาและมารดา หรือ ผู้มีอำนาจปกครองที่ยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศที่ผ่านการรับรองจากอำเภอ/เขตมาแสดงประกอบการยื่นคำร้อง หากไม่มีหนังสือยินยอม บิดาและมารดาหรือผู้มีอำนาจปกครองผู้เยาว์ต้องมาลงนามต่อหน้าเจ้าหน้าที่ในวันที่ยื่นคำร้อง (หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมาไม่ได้ ให้มาลงนามในวันรับเล่ม) หรือ มีหนังสือยินยอม จากฝ่ายที่มาไม่ได้มาแสดง เอกสารที่นำมายื่นขอหนังสือเดินทางต้องเป็นต้นฉบับหากเป็นสำเนา ต้องผ่านการรับรองสำเนาถูกต้อง จากหน่วยงานที่ออกเอกสารดังกล่าวเท่านั้น

เอกสารประกอบการขอหนังสือเดินทางธรรมดาของผู้เยาว์ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป แต่ยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์

  • บัตรประจำตัวประชาชนที่ยังมีอายุใช้งาน หรือ บัตรประจำตัวที่ใช้แทนตามกฎกระทรวง มหาดไทย
  • หนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศที่ผ่านการรับรองจากอำเภอ/เขต และบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ปกครอง พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
  • เอกสารอื่น ๆ ที่จำเป็น อาทิ หลักฐานใบเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนนามสกุล เอกสารหลักฐานการรับรองบุตรหรือรับบุตรบุญธรรมใบสำคัญการสมรส ทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่า ทะเบียนบ้าน คำสั่งศาลกรณีระบุผู้มีอำนาจปกครองแทนบิดามารดา เป็นต้น

ค่าธรรมเนียม

การทำหนังสือเดินทางเสียค่าธรรมเนียม 1,000 บาท


ความหมายของผู้มีอำนาจปกครอง

กรณีบิดาและมารดาจดทะเบียนสมรสบิดาและมารดาต้องมาลงนาม(ต่อหน้าเจ้าหน้าที่)ในคำร้องขอหนังสือเดินทางทั้งสองฝ่ายหากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่สะดวกมาลงนามในวันที่ผู้เยาว์ยื่นคำร้องให้มาลงนามในวันรับเล่มได้ หรือทำหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศ ผ่านอำเภอ/เขต พร้อมบัตรประชาชนที่มีอายุใช้งานบิดา มารดาตัวจริง

  • กรณีที่ผู้มีอำนาจปกครองอยู่ในต่างประเทศ ให้ทำหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศ ผ่านสถานเอกอัครราชทูต หรือสถานกงสุลไทยในประเทศที่พำนักอยู่ หากผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 15 ปี และผู้ปกครองไม่สามารถมาดำเนินการด้วยตนเองและประสงค์จะมอบอำนาจให้ผู้อื่นมาดำเนินการแทน ต้องมีหนังสือมอบอำนาจ และหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศ โดยหนังสือทั้ง 2 ฉบับ ต้องผ่านการรับรองจาก สอท./สกญ. (สถานทูต/สถานกงสุล) กรณีบิดามารดาหย่าตามกฎหมาย ให้ผู้มีอำนาจปกครองผู้เยาว์ตามที่ระบุในบันทึกการหย่าเป็นผู้ลงนามพร้อมแสดงทะเบียนหย่า และบันทึกการหย่า
  • ผู้เยาว์ที่เกิดจากบิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรส มารดาสามารถลงนามได้ฝ่ายเดียว โดยให้ทำ บันทึกคำให้การจากอำเภอ/เขตยืนยันว่าไม่ได้จดทะเบียนสมรสพร้อมแสดงหลักฐานบัตรประจำตัวประชาชนที่มีอายุใช้งานเป็น “นางสาว” ต่อเจ้าหน้าที่รับคำร้อง
  • มารดาผู้เยาว์ที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสแต่ใช้คำนำหน้า “นาง” สามารถลงนามได้ฝ่ายเดียว โดย นำหนังสือรับรองการอุปการะบุตรแต่เพียงผู้เดียวจากอำเภอ/เขต มาแสดง
  • ผู้เยาว์เกิดจากบิดามารดาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน มารดาต้องมาลงนามให้ความยินยอม บิดา ไม่สามารถลงนามยินยอมให้ผู้เยาว์เพียงฝ่ายเดียวได้  เว้นแต่ว่ามีคำสั่งศาลมาแสดงว่าศาลให้บิดาเป็นผู้อุปการะผู้เยาว์แต่ผู้เดียว
  • บิดามารดาผู้ให้กำเนิดผู้เยาว์ที่ได้ยกผู้เยาว์ให้เป็นบุตรบุญธรรมของผู้อื่นแล้ว ไม่สามารถลงนาม แทนบิดามารดาบุญธรรมได้ต้องให้บิดา มารดาบุญธรรมเป็นผู้ลงนาม
  • เอกสารที่นำมายื่นขอหนังสือเดินทางต้องเป็นต้นฉบับหากเป็นสำเนาต้องได้รับการรับรองสำเนา ถูกต้องจากหน่วยงานที่ออกเอกสารดังกล่าวเท่านั้น

ข้อควรปฏิบัติในวันมายื่นคำร้อง

กรณีบิดาและมารดาจดทะเบียนสมรส บิดาและมารดาต้องมาลงนาม(ต่อหน้าเจ้าหน้าที่)ในคำร้องขอหนังสือเดินทางทั้งสองฝ่าย หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่สะดวกมาลงนามในวันที่ผู้เยาว์ยื่นคำร้อง ให้มาลงนามในวันรับเล่มได้ หรือทำหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศ ผ่านอำเภอ/เขต พร้อมบัตรประชาชนที่มีอายุใช้งานบิดา มารดาตัวจริง


สถานที่ทำหนังสือเดินทาง

thai-passport-offices